สรุปความเห็นจากการสัมภาษณ์ข้าราชการในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ กทม. จำนวน ๕๙๗ ราย ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน ๒๕๔๓ พบว่า
บทคัดย่อ ผลการวิจัยจากการสำรวจความเห็นของกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนจากการสัมภาษณ์ หัวหน้าครัวเรือนทั่วประเทศ ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๔๒ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายขั้นตอน จำนวน ๔,๐๑๓ตัวอย่าง พบว่าคอร์รัปชันเป็นปัญหาระดับชาติที่สำคัญเป็นอันดับสาม รองจากปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาค่าครองชีพสูง คอร์รัปชันพบในหมู่นักการเมืองมากกว่าในหมู่ข้าราชการ หน่วยงานที่ไม่ซื่อสัตย์มากที่สุด ได้แก่ ตำรวจ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ใน ปีที่ผ่านมา ร้อยละ ๑๐ ของครัวเรือนถูกเรียกร้องสินบนเป็นจำนวนเงินต่ำกว่า ๑,๐๐๐ บาท และมีครัวเรือนเพียงร้อยละ ๐.๒ ที่ถูกเรียกร้องมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท และในกลุ่มนี้เมื่อรวมกันคิดเป็นวงเงินประมาณ ๒ ใน ๓ ของวงเงินที่ถูกเรียกร้องทั้งหมดรวม ๑๕,๔๐๐ ล้านบาท วงเงินเรียกร้องนี้ กระจุกอยู่ในหน่วยงาน ๓ แห่ง คือ ที่ดิน ตำรวจ และสรรพากร
ในเรื่องการรายงานกรณีคอร์รัปชัน ส่วนใหญ่ตอบว่าไม่เคยรายงาน เพราะไม่ทราบว่าจะรายงานที่ใด และอาจนำผลลบมาถึงตนเองอีก
สถาบันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต่อต้านคอร์รัปชันได้แก่ สื่อมวลชน ป.ป.ช. นักวิชาการ และครู ตามลำดับ
สรุปผลการวิจัย จากการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการในระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๔๒ จากผู้ประกอบการธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และต่างจังหวัด รวม ๔๒๒ ราย พบว่า
สรุปผลการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของ ภาคราชการ โดยอาศัยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ วิธีการศึกษาอาศัยการสัมภาษณ์นักธุรกิจที่มีประสบการณ์ด้านการจัดซื้อจัด จ้างมานานรวม ๕ ราย และการสัมภาษณ์กลุ่มนักธุรกิจอีก ๒ ครั้ง รวมทั้งการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการกับข้าราชการ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน ๔ ราย พบว่า