หลักของการทำงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสั่งสอนพวกเราอยู่ตลอด เวลานั้นก็คือ หลักของการประสานงานประสานสัมพันธ์เพื่อระดมพละกำลังต่างๆที่มีอยู่แต่ละจุด แต่ละองค์กรเข้ามารวมประสานสัมพันธ์เพื่อให้เกิดพลังขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเลตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สมเด็จพระราชชนนีฯ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระ นามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานพระนามว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ซึ่งคำว่า “ภูมิพล” แปลว่า “กำลังของแผ่นดิน”
พระราชดำรัส :
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด :
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ขึ้น ครองราชย์มาเป็นปีที่ 63 แล้ว ถือว่าเป็น พระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดใน โลก ลองคิดดูว่าตลอดระยะเวลาที่ทรง ครองราชย์อยู่นั้น ทรงทำราชการมาในลักษณะที่ยืนยาวกว่าผู้ใดในแผ่นดินนี้ก็ว่าได้ เพราะ ข้าราชการนั้นจะมีอายุราชการอย่างมากที่สุดก็ประมาณ 40 ปี จึงเห็นได้ว่าทุกข์สุขของราษฏร์นั้น ทรงแบกไว้ทั้งสิ้นขอใช้คำสามัญอย่างนั้นเพราะไม่ว่าความทุกข์ของประชาราษฏร์ จะอยู่ที่ไหน พระองค์จะเข้าไปพระราชทานความช่วยเหลือดึงเอาประชาชนให้พ้นจากทุกข์นั้นอยู่ ตลอดเวลา หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในขณะนี้ก็คือ มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกิดขึ้นระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น เป็นจำนวนกว่า 3,000 โครงการ ที่ครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์และความสุขของ ประชาชนทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นแบบอย่างให้กับพสกนิกรโดย เฉพาะข้าราชการที่เห็นเป็นรูปธรรม สมควรที่จะเดินทางตามรอยยุคลบาท”
พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร อดีตนายตำรวจราชสำนักประจำ
“ความ ไม่ถือพระองค์เมื่อเสด็จไปอยู่ท่ามกลางประชาชน โดยเฉพาะเมื่อเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ และโดยเหตุว่าผมตามเสด็จใกล้กว่า เขาอย่างที่ผมไม่เคยนึกมาก่อนและไม่เคยคิดว่า จะได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินประเทศไทยทำกันเราเกือบจะลืมกันไปว่าเรามีหน้าที่ในเรื่องการถวายความปลอดดภัย เพราะความใกล้ชิดกับประชาชนของพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาตามสบายไม่เร่งร้อน ทรงฟังปัญหาความทุกข์ของประชาชนอีกเรื่องที่ประทับใจผมอย่างยิ่งก็คือความเสียสละพระองค์ซึ่งไม่มีเงื่อนไข โดยเฉพาะในเวลามีวิกฤตการณ์นั้นพระเจ้าอยู่หัวจะไม่ได้ทรงพักผ่อนไม่ได้บรรทม ทรงใช้เวลาไปเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเท่านั้น เพราะฉะนั้นวิกฤตการณ์ต่างๆเวลาเกิดขึ้นจึงคลี่คลายไปได้โดยรวดเร็ว ถ้าเผื่อว่าผู้ที่ได้ตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณจะได้ไม่ใช่เพียงแซ่ซ้องสรรเสริญหรือดีอกดีใจกันเฉย ๆ แต่ควรปฎิบัติตนตามรอยพระยุคลบาท ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่บ้านแก่เมืองเป็นอย่างมาก”
พระราชกระแสรับสั่ง :
“...ฉันถือว่าฉันเป็นพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งนี้ ตราบนั้นฉันต้องปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สมบูรณ์…”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงรับคำกราบบังคมทูลพระกรุณา อัญเชิญให้ขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อพระชนมพรรษาเพียง 19 พรรษา หากแต่ด้วยทรงรู้สึกว่า เมื่อประชาชนได้เลือกพระองค์เป็นพระประมุขของชาติก็ต้องทรงมีหน้าที่ตอบแทนความไว้วางใจของประชาชนด้วยการอุทิศเวลาพระวรกายพระสติปัญญาและพระราชทรัพย์ บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่พสกนิกร ทรงอภิบาลประชาชนด้วยพระอัจฉริยะอุตสาหะทั้งมวลสมดังพระราชโองการที่พระราช ทานอารักขาประชาชนของพระองค์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
“นั่นคือดวงแสงใดในแผ่นดิน
รังสรรค์ราวศิลป์อยู่เรียงสาย
นั่นคือเทียนใดอยู่ทอดราย
โชติฉายทิ้งช่วงอยู่แช่มช้านั่นคือริ้วขบวนใดในแผ่นดิน
จึงหยาดรินแรงโสมมนัสา
นั่นคือแววใดจึงปรีดา
แต่งแต้มดวงตาอยู่ตื้นตัน”
“...ในโอกาสพิเศษนี้ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอให้ท่านทั้งหลาย ใน สมาคมนี้ตลอดจนประชาชนชาวไทยทั่วหน้าได้ตั้ง ความคิดจิตใจแน่วแน่ หนักแน่นอยู่ในความสัตย์ สุจริต และความขยันหมั่นเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมด ไป และระวังไม่ให้เกิดใหม่อย่างหหนึ่งกับความเพียรที่ จะสร้างสรรค์ความดีความ เจริญให้เกิดขึ้น และระวัง รักษามิให้เสื่อมสิ้นไป…”
“นั่นคือริ้วขวบนแห่งแรงจงรัก แน่นหนักมิรู้สิ้นที่สืบสาน
นั่นคือแววตาจรัสชัชวาล เพื่อทอดมองภูบาลด้วยบูชา
นั่นคือเสียงซึ่งเปล่งเพลงพรศรี คำกวีก็แว่วไหลโดยสายภาษา
สีเหลืองคือดอกไม้ในแววตา” แย้มบาน ณ กาญจนาภิเษกกาล
คำประพันธ์ : อดุล จันทรศักดิ์
พระราชดำรัสการประชุมแก้ไขวิกฤตการณ์ ปัญหาน้ำท่วม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538
“...เราต้องช่วยเดี๋ยวนี้ไม่ใช่ช่วยทีหลัง ตอนนี้ผู้ที่มาประชุมนี้ก็สนใจในเรื่องจะช่วยเดี๋ยวนี้ และถ้าช่วยเดี๋ยวนี้ไม่ต้องเสียงบประมาณตั้งกี่หมื่นล้าน...”
วันนั้นที่ป่ายางฝนตกพรำจากเช้าจนบ่าย ความ หนาวเย็นเจาะลึกซอกซอนและซ่อนตัว เสด็จ พระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปในป่ายาง ท่ามกลางฝนตกหนัก มีสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯตามรอยเบื้องพระยุคลบาทเป็น ระยะทางถึง 2 กิโลเมตรเศษ เพื่อพิจารณาพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำให้ชาวบ้านบนพื้นที่ 5,000 ไร่ ในเขต 3 ตำบล นี่คือสิ่งที่มิใช่สามัญธรรมดา ในความรู้สึกของผู้คนและไม่ ธรรมดามากเป็นทวีคูณ เพราะนี่คือ ดงทาก คือ รังทากที่ชุกชุมที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ เกือบทุกคนที่ตามเสด็จ โชกโชนและโชก เลือดไม่เว้นแม้ทั้งสองพระองค์ ค่ำนั้นระหว่าง เสด็จ พระราชดำเนินกลับทรงหยุดรถพระที่ นั่งอยู่ หลายนาที หลายคนในขบวนไม่ทราบสาเหตุ ทรงหยุดรถพระที่นั่งเพื่อรับสั่งให้สมเด็จพระเทพฯ ช่วยจับทากที่ตัวเป่งด้วยพระโลหิตออกจากพระวรกาย
พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538
“...ภาษาอังกฤษพูดว่า อา อะ ลอส คือ สิ่งที่เรา เสีย อีส คือ เป็นอาอะเกน คือ กำไรของเรา อาอะลอส คือ ความเสียหายของเรากลายเป็น กำไรของเราต้องทำตามมติ คติพจน์ของ สำนักงาน ฝล. ก็สามารถที่จะทำอันนี้ได้ แต่ถ้า ถือว่า อาอะลอสอีสอาอะลอส คือ ไม่ยอมเสีย เงินก็ทำอย่างนี้ไม่ได้ ต้องยอมเสียเงิน แต่ในที่สุดก็กลายเป็นกำไรของเราเพราะว่าที่นี่คนพวกนี้ เขาเคยร่วมมือจัดทำโครงการนี้ได้ราคาถูกและพวกประชาชนพวกที่อยู่ที่นี่ก็จะได้กำไรเหมือนกันราชการก็ได้กำไร…”
ด้วยจุดยืนและหลักการที่มั่นคงแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราชในการให้การเสียสละ การขาดทุนอันมีผลเป็นกำไรได้กลายเป็นตำนานแห่งการ พระราชทานพระมหา กรุณาธิคุณแก่ข้าแผ่นดิน ตำนานแห่งการให้นับเป็นหลักการสำคัญ ในการปฏิบัติราชการดังพระบรมราโชวาทที่ว่า “...การทำงานด้วย ความบริสุทธิ์ใจมิได้มุ่งหมายหากินด้วยวิธี ใด ๆ ใครอยากหากินขอให้ลาออกจาก ตำแหน่งไปทำการค้าขายดีกว่า...” เรียนรู้ได้ว่าคนทำงานเพื่อประชาชนต้องรู้จักการให้ มากกว่าที่จะหวังผล รับ รวมทั้งต้องยึดหลักที่ได้พระราชทานไว้อย่างลึกซึ้งใความหมาย “รู้รักสามัคคี” รู้ ตรงกับความหมายในเชิง พุทธ คือคำว่า “ปัญญา” รัก ตรงกับคำพระ คือ เมตตา สามัคคี การทำงานอย่างสอด ประสานความสัมพันธ์ รู้รัก สามัคคี และการให้ จึงกลายเป็นตำนานกลายเป็นหลักการกลายเป็นแบบอย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเพื่องานบริการประชาชน พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชได้เคยเขียนถึงเคล็ดวิธีในการทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ว่า “ได้ทรง ใช้ความรักของราษฎรเป็นเนื้อนา ทรงใช้พระปัญญาคุณเป็นแอกไถทรงใช้พระมหากรุณาธิคุณเป็นเมล็ดพืชและทรงใช้พระเสโทที่หลั่งไหลออกมาเพราะ ความเหน็ดเหนื่อยพระวรกายนั้นเป็นสายธารที่หล่อเลี้ยงพื้นที่ดินให้มีความอุดม”
ฝนแล้งก็ต้องขอฝนหลวง
น้ำท่วมก็ต้องเสด็จไปแก้ไข
ป่าไม้ก็ต้องทรงปลูก
ลูกเจ็บก็ต้องแพทย์หลวงรักษา
กุ้งปลาก็ต้องทรงปล่อย
เลิกฝิ่นบนดอยก็ต้องทรงช่วยเขาทำกิน
ปฏิรูปที่ดินก็ไม่พ้นพระราชภาระ
ทุกเรื่องที่จะทำให้ราษฎรร่มเย็น
ธ คือบุญของแผ่นดินประดับด้าว ด้วยเรื่องราวแห่งมหาภารกิจ
ทุกภาพที่ทรงงาน คือการอุทิศ ด้วยทศพิธราชธรรม ด้วยน้ำพระทัย
พระราชนิพนธ์ “เดินตามรอยเท้าพ่อ” ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพมาเพื่อประชาชนโดยแท้ ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงงานหนักยิ่งกว่าข้าแผ่นดินคนใด แม้พระองค์ทรงสถิตอยู่ในฐานะสูงสุด ทรงสมบูรณ์ทุกสิ่งเพื่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นพระราชทรัพย์ พระวรกาย พระสติปัญญา ทรงเป็นนักคิดที่เป็นอัจฉริยภาพสูงส่งใช้ทั้งศาสตร์การปกครองทางการเมือง และทรงเป็นนักปฎิบัติที่ยิ่งใหญ่ ทรงเป็นแบบอย่างในการทำราชการ เพื่องานบริการประชาชน
พระราชนิพนธ์ “เดินตามรอยเท้าพ่อ” ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ด้วยจิตสำนึกที่จะทำงานตามรอยยุคลบาท เพื่อการให้บริการประชาชนพวกเราจึงน้อมนำวิธีคิด วิธีปฎิบัติแห่งพระผู้ทรงเป็นต้นแบบงานบริการประชาชนมาปฎิบัติงานรับราชการด้วย ความเพียรที่เต็มความสามารถ เพื่อเป็นราชสักการะราชสดุดีและเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
“...ฉัน เดินตามรอยเท้าอันรวดเร็วของพ่อโดย ไม่หยุด ผ่านเข้าไปในป่าใหญ่น่ากลัว ทึบ แผ่ ไปโดยไม่สิ้นสุด มืดและกว้าง มีต้นไม้ใหญ่ๆ เหมือนหอคอยที่เข้มแข็ง พ่อจ๋า...ลูกหิวจะตาย อยู่แล้วและเหนื่อยด้วย..”
“เพื่อมนุษยชาติจงอย่าละความกล้าเมื่อเผชิญกับ ความทุกข์ให้อดทนและสุขุมและจงมี ความสุข ที่ได้ยึดอุดมการณ์ที่มีค่า ไปเถิดถ้าเจ้าต้องการ เดินตามรอยเท้าพ่อ”
“พระทูลกระหม่อมแก้ว
ครองแผ่นดินโดยธรรมเป็นตำนาน
ครบหกสิบปีแล้วที่กรำกร้าน
ด้วยมหาบุญญาธิการพระจักรี”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ทรงอุทิศพระองค์เองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างต่อเนื่องมากว่า 60 ปี รวมทั้งจากการทำงานหนักของข้าราชการที่ได้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ประเทศไทยจึงสามารถฟันฝ่าวิกฤตรักษาเอกราชและพัฒนาประเทศสืบเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน ดังนั้นการสร้างโครงการให้ข้าราชการทั้งหลายได้เรียนรู้เพื่อเป็นข้าราชการ ที่ดี จึงเกิดเป็นโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทขึ้นเพื่อให้ข้าราชการเข้าใจ อย่างถ่องแท้ในพระบรมราโชวาทแก่ข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันและน้อมนำใส่เกล้าฯ มาเป็นหลักมุ่งมั่นปฎิบัติหน้าที่ด้วยหัวใจที่รักประชาชนเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนชาวไทย “สำนักงาน ก.พ. ในสมัยนั้นได้ปรึกษากับเลขาธิการพระราชวังราชเลขาธิการ เลขาธิการ กปร. และผู้ทรงคุณวุฒิอีก หลายท่านได้มีความเห็นร่วมกันว่าในช่วงที่ประเทศชาติกำลังเกิดวิกฤติเช่นนี้ ควรมีการกระตุ้นส่งเสริมให้ข้าราชการเกิดความตระหนักในการปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ และอดทน เพื่อถวายเป็นราชสักการะและเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ดังนั้นจึงได้จัดตั้งโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทขึ้น โดยได้เชิญพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่ข้าราชการพลเรือน เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ในวันที่ 1 เมษายน 2524 เป็นต้นมา เพื่อที่จะให้ข้าราชการทั้งหลายได้เรียนรู้และน้อมนำพระบบรมราโชวาทนั้นเป็นหลักในการทำงานเพื่อมุ่งมั่นปฎิบัติหน้าที่ของเขาให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนสืบไป
โครงการการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทนี้เป็นโครงการเฉลิมพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษาครบ 6 รอบในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 และเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เป็นโครงการสำคัญของรัฐบาลและให้ทุกกระทรวง ทบวง กรมเข้าร่วมโครงการ โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนร่วมกับสำนักคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสำนักงบประมาณดูแลให้เกิดผลในทางปฎิบัติดังนี้ คือ
การดำเนินงานของโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทอยู่มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการจัดอบรมของทุกส่วนราชการ กล่าวคือ
ประการแรก ได้ดำเนินจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท 4 วิชาที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน คือ การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การเป็นข้าราชการที่รักประชาชน การสร้างความดีแก่สังคม และการร่วมสร้างพลังของแผ่นดิน โดยสำนักงาน ก.พ. จะสนับสนุนชุดฝึกอบรมแผนการสอน วีดีทัศน์และสื่อต่าง ๆ ประกอบ
ประการที่สอง ได้อบรมวิทยากรของโครงการจากทุกกระทรวง ทบวง กรมเพื่อนำหลักสูตรนี้ไปเผยแพร่แก่ข้าราชการในหน่วยงานของตนต่อไป
ประการที่สาม ในส่วนของสำนักงาน ก.พ. ได้จัดอบรมข้าราชการในสังกัดทุกคนภายในปี ๒๕๔๒
ประการที่สี่ ในส่วนราชการต่างๆ เริ่มมีการจัดอบรมข้าราชการในสังกัดตามหลักสูตรโครงการ
และ ประการที่ห้า คณะกรรมการบริหารโครงการเรียนรู้ตามรออยพระยุคลบาทโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็น ประธาน และปลัดกระทรวงทุกท่านเป็นกรรมการเพื่อให้การสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่
“ตลอด เวลา ในหลวงเราทรงงานตลอด พระองค์มีอะไรมากมายที่เราได้ศึกษาพระบรมราโชวาท ที่ดิฉันได้รับมาจากสำนักงาน ก.พ. เป็นประมวลพระบรมราโชวาทตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ เป็นต้นมาเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ซึ่งทุกองค์ทรงสอนอะไรไว้มากมาย เราเรียนรู้จากกตรงนี้ได้มากเลย เพราะฉะนั้นโครงการนี้น่าจะเผยแพร่ออกไปให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างที่ดิฉัน ได้เรียนบ้าง”
“ในฐานะ ที่ผมเองได้มีโอกาสเข้าไปร่วมรับการฝึกอบรมเพื่อเป็นวิทยากรในการเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาทนั้น ผมได้เรียนรู้ว่า เมื่อเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราก็ควรจะทำหน้าที่หรือปฏิบัติธรรมของการให้บริการประชาชน เพื่อการบำบัดทุกข์บำรุงสุขนั้น บนธรรมแห่งการให้เช่นกัน ธรรมแห่งการให้เพื่อให้เกิดการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนโดยพร้อมเพรียง กัน ขอเชิญชวนเพื่อนข้าราชการร่วมใจกันเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เพื่อยึดถือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติและทำงานเพื่อประชาชน สังคม และประเทศชาติสืบไป”
“…การ ยึดมั่นในผลประโยชน์ของแผ่นดิน และความถูกต้องเป็นธรรมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปฎิบัติหน้าที่ของข้าราชการ เพราะการยึดมั่นดังกล่าวจะทำให้มีจิตใจมั่นคง เด็ดเดี่ยวในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้จนบรรลุผลสำเร็จและสามารถป้องกันความ ผิดพลาดเสียหายอันจะเกิดแก่ตนแก่งานได้อย่างแท้จริง...”
เหนือ ใต้ ออก ตก ใกล้หรือไกลสุดขอบฟ้า กว่า ๖๐ ปี มากว่า ๓,๐๐๐ โครงการเพื่อ ๖๐ ล้านกว่าชีวิต ทรงอุทศพระวรกาย เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของพระองค์
ทุกข์ พระองค์ทรงทุกข์ยิ่งกว่า ร้อนพระองค์ทรงร้อนยิ่งกว่า หนาวพระองค์ทรงหนาวและเหน็บยิ่งกว่า เหนื่อยพระองค์ ทรงเหน็ดเหนื่อยยิ่งกว่า ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปี พระผู้ทรงเป็นแบบของข้าราชการ
หากเป็นไปได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ผมอยากสัมผัสพระองค์ ท่านได้ด้วยสายตา...(ความใฝ่ฝันของผู้สูญเสียการมองเห็น)
พ่อ : “การบ้านเสร็จแล้วหรือลูก”
ลูกชาย : “ยังครับผมจะดูการ์ตูนก่อน”
...........ภาพข่าวในพระราชสำนัก..........
ลูกชาย : “ว้าการ์ตูนไม่มี พ่อๆ มาเล่นกับหนู”
แม่ : “อย่ากวนพ่อสิลูก พ่อกำลังทำงาน”
ลูกสาว : “ทำไมพ่อต้องทำงานหนักอย่างนี้ด้วย คนอื่นทำงานหนักอย่างพ่อไหม”
พ่อ : “มีซิลูก ในหลวงทรงทำงานหนักเพื่อช่วยประชาชนทุกวันเลยลูก พ่อเป็นข้าราชการจึงต้องทำงานหนักเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระองค์”
สนองเบื้องพระยุคลบาท เพื่อศักดิ์ศรีข้าราชการไทย
แต่เล็กจนโตพ่อเคยบอกว่า ในหลวงคือน้ำ น้ำที่ให้ชีวิตแก่เราชาวไทยทุกคน น้ำที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตาและนำความชุ่มชื่นร่มเย็นมาสู่ปวงชนชาวไทย วันนี้ผมเข้าใจแล้วว่า ในหลวงท่านเป็นยิ่งกว่านั้น พระองค์คือพระผู้มีแต่ให้ ผมภูมิใจที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย บุญของคนไทยที่มีในหลวง
“วัน นี้แล้วสินะ วันสุดท้ายของชีวิตข้าราชการ จำได้ดีตอนรับราชการใหม่ ๆใคร ๆ ก็บอกว่าเป็นข้าราชการสบาย เป็นเจ้าคนนายคนต่างกับการเป็นข้าราชการที่ทุ่มเทและเป็นที่พึ่งให้ชาวบ้าน ผมได้เรียนรู้แบบอย่างจากในหลวงที่ทรงงานหนักเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน แม้จะเหนื่อยแต่ก็สุขที่ได้ทำ เป็นข้าราชการยังมีวันพักแต่ในหลวงจะไม่ทรงหยุดพักตราบใดที่คนไทยยังต้องการ พระองค์”
“ในที่สุดวันนี้ก็มา ถึง วันสุดท้ายในชีวิตข้าราชการอย่างที่ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจมาเกือบค่อนชีวิต ความทรงจำอันล้ำค่าสิ่งที่ผมยึดเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจให้ผมก้าวไปทำงาน อีกครั้ง แม้จะเหนื่อยยากลำบาก การเป็นข้าราชการผู้เป็นที่พึ่งให้กับประชาชน ผมได้แบบอย่างการทำงานจากในหลวงทำให้ผมเข้าใจคำว่า “เจ้าคนนายคนอย่างแท้จริง”
“วัน ที่ผมดีใจที่สุดในชีวิต คือ วันที่ผมได้เฝ้าในหลวงเป็นครั้งแรก ผมเห็นพระองค์และสัมผัสได้ถึงความห่วงใยที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรตลอดมา ผมจึงตั้งปณิธานเอาไว้ว่า เมื่อโตขึ้นผมจะรับราชการเพื่อรับใช้ประชาชนที่พระองค์ทรงห่วยใย ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติและส่วนรวมอย่างสุดความสามารถ และที่สำคัญที่สุดจะดำรงอยู่ในความสุจริตเพื่อช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจของ พระองค์ลงบ้าง อันเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณให้สมกับที่เป็นบุญของผมและคนไทยทั้งประเทศ ที่มีในหลวง”
----นักเรียนเข้าแถวร้องเพลงชาติ----
เด็กนักเรียนหญิง : “คุณครูบอกพวกเราว่า การเป็นคนดีต้องรู้จักให้ความรักและเสียสละต่อผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ไม่คดโกง”
----ในห้องเรียน----
นักเรียนหญิง : “คุณครูคะ ต้นแบบของพวกเรา คือ คุณครูและต้นแบบของคุณครูคือใครคะ”
คุณครูเงยหน้ามองไปยังพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหนือกระดานดำหน้าชั้นเรียน
นักเรียนหญิง : “บุญของพวกเราที่มีคุณครู บุญของคนไทยที่มีในหลวง”
ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญนับตั้งแต่ประธานศาลฎีกา นายกรัฐมนตรีและประธานองค์มนตรีข้าราชการ ไทยผู้เดินตามพระยุคลบาท อาจกล่าวได้ว่าในช่วง ๙ ทศวรรษที่ผ่านมาของประเทศไทย ปูชนียบุคคลท่านนี้สามารถก้าวสู่ตำแหน่งสูงสุดเพื่อรับใช้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ด้วย การทำความดีและการเป็นคนดี
“คุณลักษณะ สำคัญ ๒ ประการ ที่น่าจะเป็นเหตุที่ทำให้คุณพ่อมีเกียรติยศ มีชื่อเสียง ประสบความสำร็จและเจริญก้าวหน้าคือเรื่องของการใฝ่หาความรู้ และประพฤติดี ท่านพูดถึงความประพฤติดีว่า หมายถึง ความไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ข้าราชการจะต้องมีความรู้ดี มีความสุจริตในธรรม และมีกุศโลบาย คือ มีวิธีการอันแยบคาย คงจะไม่ผิดถ้าจะกล่าวว่าตลอดเวลาที่คุณพ่อรับราชการมา 70 กว่าปีตั้งแต่ 19 ปี ท่านได้ยึดมั่นในแนวพระบรมราโชวาทโดยน้อมนำใส่เกล้าฯ มาเป็นสิ่งที่ปฏิบัติทั้งแก่ตนเอง และแก่ลูกหลาน ญาติมิตรตลอดมา”
ปูชนียบุคคล ผู้เดินตามรอยพระยุคลบาทภารกิจของศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ในตำแหน่งสำคัญตามอำนาจอธิปไตยและตำแหน่งสำคัญอื่นๆ สามารถสำเร็จลงได้ก็ด้วยการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
“ผม จำได้ว่าในปี ๒๕๓๔ ปีที่คุณพ่อมีอายุครบ ๘๔ ปี คุณพ่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าพระราชทานน้ำสังข์ เมื่อรับพระราชทานน้ำสังข์แล้วคุณพ่อขอพระราชทานพร พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานธรรมะแก่คุณพ่อ พระราชทานว่าธรรมะนี่ต้องปฎิบัติจริงไม่ใช่แค่รู้ ต้องเข้าใจหลักการพระองค์พระราชทานธรรมะที่กี่ยวกับสติปฐาน ๔ และการวิปัสสนา ผมจำได้ว่าทรงเน้นเรื่องที่สำคญที่สุด คือ ต้องปฎิบัติจริง ไม่ใช่รู้เฉย ๆ คุณพ่อได้ยึดธรรมะที่พระราชทานในโอกาสนั้นใส่เกล้าฯ นำมาทบทวน นำมาปฎิบัติ นำมาเล่าให้ญาติมิตรลูกหลานฟังเสมอมา ท่านเชื่อว่าการปฎิบัติธรรม เป็นรากฐานสำคัญที่ดีที่สุดที่จะทำให้คนเราประพฤติดี ซึ่งก็คือ การคิดดี พูดดี ทำดี”
มีบุคลิกเยือกเย็น สุภาพอ่อนโยน ยึดมั่นในระเบียบวินัย กฎหมายและเชื่อมั่นในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ท่านองคมนตรี ข้าราชการไทยอีกคนหนึ่งที่ได้เรียนรุ้ตามรอยพระยุคลบาทซึ่งการเรียนรู้ตาม รอยพระยุคลบาททำให้คนไทยได้มีสติในเรื่องหลักของการดำเนินชีวิต
“พระราชดำริในพระบาทสเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เฉพาะจะนำมากำหนดนโยบายในการบริหารแผ่นดินเท่านั้น หากแต่เหมาะสมให้บุคคลทั่วไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงนี้แต่ละคนก็แสวงหาเฉพาะสิ่งที่จำเป็นในการครองชีวิต เพื่อให้มีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ อนึ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ อาจจะใช้ป้องกันการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ในระดับหนึ่ง การฉ้อราษฎรบังหลวงเกิดขึ้นก็เพราะผู้คนทั้งหลายมีความต้องการโดยไม่มี ที่สุดและก็ไม่ได้ทำให้บุคคลใดมีความสุขขึ้นมา ถ้าหากว่าเราจะตัดความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุดนี้โดยแต่ละคนพอใจแสวงหาแต่ สิ่งที่จำเป็นในการครองชีวิตแล้ว เราก็จะมีความสุขตามที่เราปรารถนาสังคมเราก็จะปราศจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงน้อยลงเป็นอันดับ”
จาก ชีวิตข้าราชการที่ประสบความสำร็จอย่างสูง ในวิชาชีพกฎหมาย ผู้นำสูงสุดของประชาชนจนถึงภาระหน้าที่ในงานถวายความเห็นและรับใช้ใต้เบื้อง พระยุคลบาท
“สิ่งที่ประทับใจผมอย่างยิ่งเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้แก่ การมีน้ำพระราชหฤทัยอันเด็ดเดี่ยวและมั่นคงในการแก้ปัญหาสำคัญของชาติในยาม ที่ประทศไทยถูกภัยจากคอมมิวนิสต์คุกคามทั้งจากภายนอกประเทศและในประเทศ และในยามที่กัมพูชา เวียดนามและลาวถูกตีแตกไปแล้วนั้น ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็มุ่งมั่นที่จะยึดครองประเทศไทยให้ได้ในฐานะที่เป็นโดมิโน ตัวสุดท้าย ในช่วงเวลานั้นเอง เพลงพระราชนิพนธ์เราสู้ก็ดังกึกก้องกังวานขึ้นทั่วทุกหนแห่ง ทุกเช้าค่ำวันคืน เพื่อเตือนใจประชาช?